ผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า

ข้อมูลจากหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินในแอริโซนาและศูนย์การแพทย์ในแคลิฟอร์เนียได้แสดงให้เห็นว่าการทำ CPR ที่มีคุณภาพนั้นสามารถช่วยชีวิตคนได้ และชี้ว่าเทคโนโลยีของ ZOLL นั้นสามารถช่วยให้การทำ CPR นั่นมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นได้

โอกาสรอดมากกว่าสองเท่า

ในช่วงก่อนส่งตัวเข้าโรงพยาบาล เทคโนโลยีและการฝึกอบรมที่รวมเข้าด้วยกันของ ZOLL เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตไปจนถึงการหายป่วยออกจากโรงพยาบาลมากกว่าสองเท่าสำหรับผู้ป่วยในแอริโซนา

การพัฒนาที่รวดเร็วครั้งนี้ประสบความสำเร็จขึ้นเมื่อผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินในเมซาใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า ZOLL กับ Real CPR Help® และ CPR Dashboard™ และได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทาง (ตามสถานการณ์) ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ ผู้ที่ทำการช่วยชีวิตจึงสามารถรู้ได้ว่าพวกเขากดหัวใจแรงและเร็วพอตามหลักปฏิบัติ CPR ปัจจุบันหรือไม่ และรู้ว่าพวกเขาหยุดปั๊มหัวใจเป็นระยะเวลานานเท่าไรแล้วหลังจากหยุดกดหน้าอก

หลังการเก็บข้อมูลจากการศึกษาที่เป็นวงกว้าง ผู้ที่มีอาการภาวะหัวใจหยุดเต้นจะมีแนวโน้มรอดชีวิตมากกว่าถึง 2.72 เท่าหากผู้ให้บริการกู้ชีพฉุกเฉิน EMS ใช้เทคโนโลยีและได้รับการอบรมนี้เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอาการเดียวกันที่ได้รับการรักษาจากผู้ให้บริการกู้ชีพฉุกเฉิน EMS ที่ผ่านการฝึกอบรมการทำ CPR แบบดั้งเดิมและใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีการให้ข้อเสนอแนะ 1 ในบรรดาผู้เข้าร่วมการศึกษาซึ่งมีสภาวะหัวใจหยุดเต้นได้รับการเฝ้าศึกษาด้วยภาวะหัวใจห้องล่างเต้นระรัว (เป็นแบบช็อกได้) การรอดชีวิตจนหายป่วยมีมากกว่าสองเท่าจาก 26.3 % เป็น 55.6 % หากผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการรักษาจากผู้ให้บริการกู้ชีพฉุกเฉิน EMS ที่ใช้เทคโนโลยีที่ให้ข้อเสนอแนะและได้รับการฝึกอบรมตามสถานการณ์ (รูปที่ 1) ผลลัพธ์เหล่านี้มีการตีพิมพ์ใน Annals of Emergency Medicine ในปี ค.ศ.2013 1

รูปที่ 1

การรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้น VF ที่พบเห็นในเมซารัฐแอริโซนา

Cardiac Arrest Survival Rate chart

การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นที่พบเห็นและเนื่องจากภาวะหัวใจห้องล่างเต้นระรัวมีแนวโน้มเป็นสองเท่าที่จะรอดชีวิตคิดเป็น 55.6% เมื่อเทียบกับ 26.3% เมื่อผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าควบคู่กับ Real CPR Help, CPR Dashboard และได้รับการอบรมตามสถานการณ์

การศึกษานี้ได้จัดทำโดย Bentley Bobrow ,MD, ซึ่งเป็นผู้อำนวยการทางการแพทย์ใน Arizona Department of Health Services Bureau of EMS and Trauma System ซึ่งศึกษาผู้ป่วยเกือบ 500 คน

ในการสัมภาษณ์กับ Occupational Health & Safety, ดร. Bobrow ได้กล่าวว่า, “มีหลักฐานมากมายว่าผลลัพธ์ของผู้ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้นมีความแตกต่างกันอย่างมากเมื่อพวกเขาให้การทำ CPR ที่มีคุณภาพดีและการทำ CPR ที่มีคุณภาพไม่ดี การทำ CPR อย่างถูกต้องได้นั้นเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าปราศจากความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีที่สามารถช่วยคนทั่วไปให้ทำ CPR อย่างถูกต้องด้วยแล้ว"

ART ของการกู้ชีพ

ศูนย์แพทย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก (UCSD) กำลังใช้เทคโนโลยีของ ZOLL เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมอบรมการกู้ชีพขั้นสูง (ART) ที่ทันสมัยและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

แนวคิดอันบรรเจิดของ Daniel Davis, MD, ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และผู้อำนวยการศูนย์ UCSD สำหรับ Resuscitation Science ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของโปรแกรมอบรมการช่วยชีวิตป้องกันอุปสรรคต่าง ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นในการช่วยฟื้นคืนชีพทุกวิถีทาง

โรงพยาบาล UCSD ใช้เครื่องกระตุกหัวใจ ZOLL ALS (การช่วยชีวิตขั้นสูง) ด้วย Real CPR Help, แดชบอร์ด CPR และเทคโนโลยี See-Thru CPR® เฉพาะในอุตสาหกรรมโดย ZOLL ซึ่งลดระยะเวลาการหยุดชะงักระหว่างการทำ CPR โดยช่วยให้ผู้ปฏิบัติการดูจังหวะการเต้นของหัวใจในช่วงการทำ CPR นอกจากนี้ สำหรับการฝึกอบรมและการอภิปรายแบบ post-code ทางโรงพยาบาลใช้ RescueNet® Code Review

หลังจากถูกนำมาใช้งานในโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ UCSD ในปี ค.ศ. 2007 ภาวะหัวใจหยุดเต้นก็ลดลง และอัตราการรอดชีวิตที่จะได้ออกจากโรงพยาบาลในผุ้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะนี้เข้าใกล้ 50% แล้ว (รูปภาพที่ 2)

การรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นได้เพิ่มเป็นสองเท่าตั้งแต่เริ่มนำ ART มาปรับใช้จาก 21% เป็น 42% และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 2 ในห้องดูแลผู้ป่วยหนัก การรอดชีวิตจนถึงการหายป่วยออกจากโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นจาก 23% เป็น 32% และการรอดชีวิตโดยไม่ได้รับผลกระทบทางระบบประสาทของในผู้ป่วยทั้งหมดได้เพิ่มขึ้นสองเท่า นั่นคือจาก 10.4% เป็น 21.2% อ้างอิงจากผลลัพธ์ที่น่าประทับใจเหล่านี้ การฝึกอบรม ART จึงได้รับเลือกให้เป็น Joint Commission Best Practice

ZOLL ตอบโจทย์ในเรื่องการทำ CPR และผู้ป่วยเองก็ได้รับประโยชน์อีกด้วย

รูปภาพที่ 2

การรอดชีวิตจนถึงการหายออกจากโรงพยาบาลหลังจากภาวะหัวใจหยุดเต้นที่ UCSD

 ART Survival to Discharge chart

นับตั้งแต่ดำเนินการตามโครงการ ART ในปี ค.ศ.2007 การรอดชีวิตจนถึงการหายป่วยออกจากโรงพยาบาลหลังจากภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะนี้เข้าใกล้ 50%

1Bobrow BJ, et al. Ann Emerg Med. 2013 Jul;62(1):47–56.e1. Epub 2013 Mar 7.
2Davis, DP. A New Algorithm for CPR Training Medcom Trainex CEU program 2012